fbpx
เคมีบำบัดน้ำเสีย

CHEMICAL TREATMENT WATER

เคมีบำบัดน้ำเสีย

POWDER ACTIVATED CARBON

Powder Activated Carbon หรือ ผงคาร์บอนกัมมันต์เป็นสารกรองที่ผลิตจากกะลามะพร้าวโดยการเผาให้เป็นถ่านที่มีความพรุนสูง มีคุณสมบัติพิเศษในการดูดซับสารเคมีและสิ่งสกปรกในน้ำได้ดีเยี่ยม เนื่องจากมีพื้นที่ผิวที่กว้างขวาง ทำให้สามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ปรับสีน้ำให้ใส และลดค่าความนำไฟฟ้าละลายทั้งหมด (TDS) และค่าความต้องการออกซิเจนเคมี (COD) ในน้ำได้ นอกจากนี้ยังสามารถกำจัดคลอรีนที่อาจมีอยู่ในน้ำจากระบบจ่ายน้ำประปาได้ดี

การใช้งานของผงคาร์บอนกัมมันต์มักพบในระบบกรองน้ำสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการคุณภาพน้ำที่สะอาด รวมถึงในระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อลดปริมาณสารพิษและสิ่งสกปรกก่อนปล่อยน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม

คุณสมบัติของผงคาร์บอนกัมมันต์

  1. ดูดซับสารเคมี : สามารถดูดซับสารละลาย สารอินทรีย์ และสารพิษต่างๆ ในน้ำได้ดีเยี่ยม
  2. การลดกลิ่น : ช่วยขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในน้ำ เช่น กลิ่นคลอรีน กลิ่นเน่าเสีย
  3. ปรับสีน้ำ : ช่วยให้น้ำที่มีสีเข้มหรือคล้ำกลับมาใสสะอาด
  4. ลดค่า TDS และ COD : ช่วยลดปริมาณสารละลายทั้งหมดและความต้องการออกซิเจนในการย่อยสารอินทรีย์ในน้ำ
  5. กำจัดคลอรีน : มีประสิทธิภาพในการกำจัดคลอรีนจากน้ำ ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองและมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
powder เคมีบำบัดน้ำเสีย

CRACK SOLUTION

สารเคมีบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพสูง บริษัท ฯ ได้คิดค้นขึ้นมาซึ่งมีประสิทธิภาพสามารถลดค่า Total Dissolved Solid (TDS) ได้ 80-90 % ลดค่าสังกะสี Zn ได้ 90-96 % อีกทั้งสาร Crack Solution สามารถลดระยะเวลาในการบำบัดน้ำเสียจากเคมีตัวอื่น และในการใช้ก็เพียงแค่น้อยนิดคือใช้สาร Crack Solution 0.1 % ของปริมาณน้ำเสียเท่านั้น ประหยัดเวลาและลดค่าใช้จ่ายลงมาก สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีที่สุด

จุดเด่นของ Crack Solution

  • ใช้เพียงไม่มาก เพราะมีประสิทธิภาพสูง
  • ให้ประสิทธิภาพสูงในการลดค่า TDS,Zn ได้
  • ใช้เวลาที่น้อยกว่าในการทำปฏิกิริยา
  • สามารถลดขั้นตอนในการบำบัดน้ำเสีย
  • ลดค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสีย

ประเภทการใช้งาน

  • บำบัดน้ำเสียที่มีสารแขวนลอยขนาดเล็กและมีประจุเป็นลบ
  • บำบัดน้ำเสียที่มีสารอนินทรีย์พวกโลหะหนักที่เป็นอันตราย
  • บำบัดน้ำเสียที่มีสารอินทรีย์บางชนิดละลายปนอยู่
CRACK 2024 1 เคมีบำบัดน้ำเสีย
Language »